วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี

(ประเทศเวียดนาม)



เต๊ดเหวียนดาน หรือเทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี ที่ชาวเวียดนามนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่าเทศกาลเต๊ด โดยจะเริ่มขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนจะถึงวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ ซึ่งอยู่ระหว่างช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ ของวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาว กับวันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืนในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองในภาพรวมทั้งหมดของความเชื่อในเทพเจ้าลัทธิเต๋า และขงจื๊อ ศาสนาพุทธ รวมถึงการเคารพบรรพบุรุษ

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของเวียดนาม


มีชนพื้นเมืองหลายชาติพันธุ์กระจายกันอยู่ตามเกาะ ทำให้วัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องที่แตกต่างกันไป

           วายัง กูลิต (Wayang Kilit)  เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็นศิลปะการ แสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วย หนังสัตว์นิยมใช้วงดนตรีพื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง
           ระบำบารอง (Barong Dance) ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหล มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เรื่องราวเป็นการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายความดี กับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด
           ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ   เป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซียที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการ ให้ติดสี และใช้วิธีการแต้มระบาย หรือ ย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุม ศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่เรียกว่า ปาเต๊ะคือส่วนที่ต้องนุ่ง ให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสันต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง 

          เทศกาลเต็ด (Tet) หรือ เต็ดเหวียนดาน (Tet Nguyen Dan)” หมายถึง เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี ถือเป็น เทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุดดขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อ ในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมทั้งเป็นการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษด้วย
           เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวน

หรือบันตรังทู ทีมีรูปร่างกลม มีไส้ถั่วและไส้ผลไม้ และมีการจัดขบวนเชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์ จะมีการเฉลิมฉลองกับขนมเค้กสำหรับเด็กและครอบครัวของพวกเขาที่ดูดวงจันทร์ ขบวนของโคมไฟและโคมไฟ ดวงจันทร์จะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับความเจริญรุ่งเรืองในช่วงเทศกาลจะมีกล่องเค้กในรูปร่างของดวงจันทร์ 
(Banh Trung พฤ.) เพื่อเพื่อนและครอบครัว ในเวลากลางคืนเด็กจะเดินขบวนในถนนร้องเพลงในขณะที่ส่งมอบโคมไฟจีนสีในมือ โคมไฟ เหล่านี้จีนมีเทียนที่ส่องสว่างสวยงามตามท้องถนน





งานประจำปีริมแม่น้ำ

(ประเทศสิงค์โปร์)




งานประจำปีริมแม่น้ำ Singapore River Hong Bao ที่มีการแสดงพลุและดอกไม้ไฟ และการแสดงวัฒนธรรมต่างๆ โดยจัดที่แม่น้ำสิงคโปร์ และอ่าว Marina ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินเล่นและร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ร่วมกับชาวสิงคโปร์ได้

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของสิงคโปร์


สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติหลากหลายศาสนา ทำให้ประเทศนี้มีศิลปวัฒนธรรมที่หลาก หลาย สำหรับเทศกาลที่สำคัญของสิงคโปร์ก็จะเป็นเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาเช่น  

   เทศกาลตรุษจีน          เทศกาลปีใหม่ของชาวจีนที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์                  
  เทศกาล Good Friday    จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขนของชาวคริตส์ใน เดือนเมษายน
   เทศกาลวิสาขบูชา     จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้าของชาวพุทธ ในเดือนพฤษภาคม
   เทศกาล Hari Raya Puasa    เทศกาลการเฉลิมฉลองของชาวมุสลิมที่จัดขึ้นเมื่อสิ้นสุดพิธีถือศิลอดหรือ รอมฏอนในเดือนตุลาคม
    เทศกาล Deepavali   เทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็นงานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู ที่จัดขึ้นเดือน พฤศจิกายน 





เทศกาลสงกรานต์

(ประเทศไทย)




เป็นเทศกาลวันสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ของคนไทย สงกรานต์ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณกาล ดังนั้นช่วงสงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา ในความเชื่อดั้งเดิมที่ใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทนแก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น และขอพรจากบิดามารดา ปู่ย่าตายาย

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของไทย

ได้รับอิทธิพลจากมอญ ขอม อินเดีย จีนและชาติตะวันตก แต่มีเอกลักษณ์ในด้านความงดงาม ประณีต และผูกพัน อยู่กับพระพุทธศาสนา    

 การไหว้   เป็นประเพณีการทักทายที่ถือเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของไทย โดยเป็นการแสดงถึงความมี สัมมาคารวะและให้เกียรติกันและกัน นอกจากการทักทาย การไหว้ยังมีความหมายเพื่อการขอบคุณ ขอโทษ หรือ กล่าวลาด้วย     
โขน   เป็นนาฏศิลป์เก่าแก่ของไทย มีลักษณะสำคัญที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนทั้งหมด ยกเว้นตัวนาง พระ และเทวดา ซึ่งแสดงโดยใช้ท่ารำและท่าทางประกอบทำนองเพลง ดำเนินเรื่องด้วยบทพากย์และบทเจรจาส่วนเรื่อง ที่นิยมแสดงคือ รามเกียรติ์    
 สงกรานต์   ประเพณีเก่าแก่ ซึ่งถือเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติกัน โดยจะมีการ รดน้ำ ขอพรผู้ใหญ่ สรงน้ำพระ ทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา ขนทรายเข้าวัดและก่อเจดีย์ทราย รวมทั้งมีการเล่น สาดน้ำเพื่อความสนุกสนานด้วย 



วัฒนธรรมประเพณี
(ประเทศอินโดนีเซีย)



ไทยและอินโดนีเซียถือได้ว่ามีศิลปวัฒนธรรมและความเชื่อที่คล้ายคลึงกันในหลายด้าน เช่นการใช้ครุฑ เป็นตราแผ่นดิน เนื่องมาจากได้รับอิทธิพลทางด้านศาสนาพราหมณ์ฮินดูเหมือนกัน แต่ภายในระยะหลังอินโดนีเซียได้มีการปรับตราสัญลักษณ์ให้มีลักษณ์คล้ายกับนกมากกว่าเทพ เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อความชื่อของชาวมุสลิมซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศ  รวมถึงความเชื่อในมหากาพย์รามเกียรติ์หรือรามายนะ เนื่องมาจากอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ฮินดู

วัฒนธรรมประเพณีของชาวอินโดนีเซีย แตกต่างไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของประชากรใน แต่ละท้องถิ่น อาทิเช่น

วายัง กูลิต (Wayang Kulit) 
เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการ แสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายชนิดไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์ นิยมใช้วงดนตรี พื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง


ระบำบารอง (Barong Dance) 
ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหลี มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เป็นเรื่องราวของการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ยความดีกับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด


ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ 
เป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซีย ที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้มระบาย หรือ ย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุมศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ่าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่เรียกว่า "ปาเต๊ะ" คือ ส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสัน ต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง


การทำบุญข้าวประดับดิน
(ปรเทศลาว)



การทำบุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีหนึ่งในฮีตสิบสอง นิยมทำกันในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า หรือที่เรียกว่า บุญเดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน เป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ เปรต (ชาวอีสานบางถิ่นเรียก เผต) หรือญาติมิตรที่ตายไปแล้ว ข้าวประดับดิน ได้แก่ ข้าวและอาหารคาวหวาน พร้อมหมากพลู บุหรี่ที่ห่อด้วยใบตอง กล้วย นำไปวางไว้ตามใต้ต้นไม้ แขวนไว้ตามกิ่งไม้ ตามบริเวณกำแพงวัดบ้าง (คนอีสานโบราณเรียกกำแพงวัดว่า ต้ายวัด) หรือวางไว้ตามพื้นดิน เรียกว่า "ห่อข้าวน้อย" พร้อมกับเชิญวิญญาณของญาติมิตร นำภัตตาหารไปถวายแด่พระภิกษุ สามเณร แล้วอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย โดยหยาดน้ำ (กรวดน้ำ) ไปให้ด้วย
การที่ชาวบ้านนำข้าวปลาอาหาร ไปวางไว้ตามข้างวัดบ้าง ข้างกำแพงบ้าง ผูกไว้ตามกิ่งไม้บ้าง ด้วยเข้าใจว่า ญาติที่ได้รับการปลดปล่อยจากนรก จะได้มากินในวันเดือนดับนี้ จะเป็นไปได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะชี้ตรงๆ ว่า ญาติเขาเหล่านั้นจะได้รับจริงหรือไม่ แต่สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ
    เป็นการให้อาหารแก่สัตว์จรจัด สัตว์บางจำพวกที่ไม่มีเจ้าของเลี้ยงดู บางวันได้กินอาหาร บางวันก็ไม่ได้กิน อดโซหิวโหยมาตลอดปี ได้กินอิ่มก็ในวันนี้ นับว่าเป็นความฉลาดน่าชมเชย ของบัณฑิตผู้บัญญัติลักษณะการทำบุญข้าวประดับดินนี้อย่างมากทีเดียว

    พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ มีเรื่องมากมายที่ท่านกล่าวไว้ในพระสุตตันตปิฎก โดยเฉพาะในธรรมบทขุททกนิกาย ธัมมปทัฎฐกถา ภาค 2 เรื่องมัฏฐกุณฑลี พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่มัจฉริยพรหมณ์ พ่อของมัฎฐกุณฑลี เมื่อมัฎฐกุณฑลีลูกชายมีชีวิตอยู่ป่วยลง พ่อไม่ยอมรักษาเพราะกลัวเงินหมด แต่พอมัฏฐกุณฑลี ผู้ลูกชายตายแล้ว พ่อเอาทั้งข้าวทั้งของไปกองให้ลูกแล้วร้องไห้อาลัยหาในป่าช้าบ่นเพ้อให้ลูกมาเอาของ

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณของลาว    
   
วัฒนธรรมของลาวจะมีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมทางภาคอีสาน ของไทยมาก

    ด้านดนตรีแคน 

ถือเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ โดยมี วงดนตรีคือ วงหมอลำ และมีรำวงบัดสลบ (Budsiob) ซึ่งเป็นการเต้นที่มีท่าตามจังหวะเพลง โดยจะเต้นพร้อมกันไปอย่างเป็นระเบียบถือเป็นการร่วมสนุกกันของชาวลาวใน งานมงคลต่างๆ

   การตักบาตรข้าวเหนียว

          ถือเป็นจุดเด่นของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งโดยปกติแล้วนิยมใส่บาตรด้วยข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อ ถึงเวลาฉัน ชาวบ้านจะยกสำรับกับข้าวไปถวายที่วัด เรียกว่า ถวายจังหันโดยเวลาใส่บาตรจะนั่งคุกเข่าและผู้หญิง ต้องนุ่งซิ่น ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว และมีผ้าพาดไหล่ไว้สำหรับเป็นผ้ากราบพระเหมือนกัน





วัฒนธรรมประเพณี 
(ประเทศบรูไน)
(ภาาพพิธีแต่งงาน ชาวบรูไน)

รูปแบบวัฒนธรรม เช่น ภาษา อาหาร ศาสนาของชาวบรูไน มีความคล้ายคลึงกับชาวมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างมาก การทักทายกันของชาวบรูไนจะเป็นการจับมือกันเบาๆ สำหรับผู้หญิงนั้นต้องไม่ยื่นมือให้ผู้ชายจับก่อน ประเทศบรูไนมีการเปิดโอกาสให้สตรีมีบทบาทในสังคมค่อนข้างน้อย และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามจึงถือจารีตทางศาสนาค่อนข้างเคร่งครัด การแต่งกายของผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายมิดชิด โดยสวมเสื้อแขนยาว กระโปรงยาว และมีผ้าคลุมศีรษะ ตามหลักทางศาสนาอิสลาม ควรหลีกเลี่ยงสีเหลือง เพราะถือเป็นศรีของพระมหากษัตริย์ การรับประทานอาหารควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อหมูและการดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศบรูไน


บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมาเลเซียและอินโดนีเซียมาก มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา และการแต่งกาย ที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งยังมีวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลามด้วย เช่น


- สตรีชาวบรูไนจะแต่งกายมิดชิด นุ่งกระโปรงยาว เสื้อแขนยาว และมีผ้าโพกศีรษะ คนต่างชาติ จึงไม่ควรนุ่ง กระโปรงสั้น และใส่เสื้อไม่มีแขน ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์ การทักทาย จะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ ยื่นมือให้บุรุษจับ การชี้นิ้วไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่ จะใช้หัวแม่มือชี้แทน และจะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชาย และไม่ ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง


-การรับประทานอาหารร่วมกับชาวบรูไน โดยเฉพาะคู่เจรจาที่เป็นชาวมุสลิมควรระมัดระวังการสั่งอาหาร ที่เป็นเนื้อหมูและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากผิดหลักปฏิบัติของศาสนาอิสลาม ไม่รับประทานเนื้อหมู และถือเป็นกฏที่ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดในการห้ามดื่มสุรา อาจขอให้ คู่เจรจาชาวบรูไนช่วยเลือกร้านอาหาร ทั้งนี้บรูไนไม่มีวัฒนธรรมการให้ทิปในร้านอาหาร ในกรณีที่เป็น ร้านอาหารขนาดใหญ่จะมีการเก็บค่าบริการ เพิ่มร้อยละ 10 อยู่แล้ว


เทศกาลดิปาวาลี

(ประเทศมาเลเซีย)






เทศกาลดิปาวาลี หรือเทศกาลดิวาลี เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวฮินดู ซึ่งเทศกาลนี้มีความเกี่ยวข้องกับไฟ ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าเทศกาลแห่งแสงสว่าง หรืออีกนัยหนึ่ง คือวันปีใหม่ตามจันทรคติของอินเดีย ปกติอยู่ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ซึ่งแต่ละชุมชนจะมีวันฉลอง 5 วัน หรือ 7 วัน แตกต่างกันออกไป ในวันเทศกาลบ้านทุกหลังจะจุดบูชาไฟโดยใช้ตะเกียงดินเผาใบเล็กทำเป็นภาชนะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการต้อนรับผู้มาเยือน


ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของมาเลเซีย


ด้วยเหตุที่มีหลายชนชาติอยู่รวมกันทำให้ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายผสมผสานกัน ซึ่งมี ทั้งการผสานวัฒนธรรมจากชนชาติอื่น และการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของชนแต่ละกลุ่มในแต่ละพื้นที่
        การรำซาบิน (Zabin)   เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการ ฟ้อนรำที่ได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิงชายจำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์ แบบอาระเบียน และกลองเล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว
        เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (Tadau Kaamatan)   เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์ จัดในช่วงสิ้นเดือน พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการ ทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบทเพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองด้วย 

 เทศกาลน้ำ

  (ประเทศกัมพูชา)



เทศกาลน้ำเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชา โดยงานจะถูกจัดขึ้นตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณของแม่น้ำที่นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ ภายในงานจะมีการแข่งเรือยาว การแสดงพลุดอกไม้ไฟ การแสดงขบวนเรือประดับไฟ เและขบวนพาเหรดบริเวณทะเลสาบโตนเลสาบ ซึ่งทุกเมืองในกัมพูชาจะร่วมฉลองเทศกาลนี้ถึง 3 วัน 3 คืนด้วยกัน ดังนั้นทางการกัมพูชาจึงประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ

ประเทศกัมพูชาเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน วัฒนธรรมประเพณีจึงมีความเกี่ยวข้อง กับประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนในประเทศ ศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่                     
     ระบำอัปสรา (Apsara Dance)   เป็นการแสดงนาฏศิลป์ที่โดดเด่นของกัมพูชา ซึ่งถอดแบบการ แต่งกายและท่าร่ายรำมาจากภาพจำหลักรูปนางอัปสรที่ปราสาทนครวัด นางอัปสราตัวเอกองค์แรก คือ เจ้าหญิงบุพผาเทวี พระราชธิดาในเจ้าสีหนุ เป็นระบำที่กำเนิดขึ้นเพื่อ เข้าฉากภาพยนตร์เกี่ยวกับนครวัดที่กำกับโดย Marchel Camus ชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า L"Oiseau du Paradis ก็คือ The Bird of Paradise หลังจากนั้น ระบำอัปสรา ก็เป็นระบำขวัญใจชาวกัมพูชา ใครได้ เป็นตัวเอกในระบำอัปสรานั้นเชื่อได้ว่า เป็นตัวนางชั้นยอดแห่งยุคสมัยนครวัด เป็นอุดมคติแห่งชาติกัมพูชา นางอัปสราในนครวัดก็เป็นอุดมคติแห่งสตรีเขมร ดังนั้นการชุบชีวิตนางอัปสราออกมาเป็น ระบำระดับชาตินั้นมีความหมายในเชิงชาติพันธุ์นิยม เพื่อให้เข้าถึงสัญลักษณ์สูงสุดแห่งสตรีแขมร์ ระบำอัปสรามีชื่อเสียง ขึ้นมาด้วยการอิงบนความยิ่งใหญ่ของนครวัด และระบำอัปสราก็จำลองภาพสลักที่แน่นิ่งไร้ความ เคลื่อนไหวในนครวัดให้หลุดออกมามีชีวิต ดอกไม้เหนือเศียรนางอัปสราส่วน ใหญ่ในปราสาทนครวัดคือ ดอกฉัตร พระอินทร์ เนื่องจากรูปทรงของดอกชนิดนี้พ้องกันกับภาพสลัก เขมรเรียกดอกไม้ชนิดนี้ ว่า "ดอกเสนียดสก" เสนียด คือสิ่งที่เอามาเสียด และสก คือผม ชื่อของดอกไม้บ่งบอกว่าเป็นดอกสำหรับเสียดผม เข้าใจว่าสมัยโบราณสตรีชั้นสูง ของเขมรคงประดับ ศีรษะด้วยดอกไม้หลายชนิด หนึ่งในนั้นคือดอกฉัตรพระอินทร์ ดังหลักฐานภาพสลักนางอัปสรา ที่พบ ในปราสาทหินขอม ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของช่างสลักจากที่ได้เห็นของจริง 


     เทศกาลน้ำ (Water festival) หรือ บอน อม ตุก” (Bon Om Tuk) เทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชา จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนเพื่อเป็นการแสดงความสำนึกในพระคุณของ แม่น้ำที่นำความอุดมสมบูรณ์ มาให้ โดยจะมีการแข่งเรือยาว แสดงพลุดอกไม้ไฟ การ แสดงขบวนเรือประดับไฟ เและขบวนพาเหรด บริเวณทะเลสาบ "โตนเลสาบ" ที่จัดขึ้น ทุกปีตั้งแต่ วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำ เดือน
พฤศจิกายน ซึ่งทางการกัมพูชา ประกาศให้เป็น วันหยุด 3 วัน เพราะน้ำในแม่น้ำโขงเมื่อขึ้นสูง จะไหลไป
ที่ทะเลสาบ เนื่องจากในช่วงปลาย ฤดูฝนในเดือนพฤศจิกายน น้ำในทะลสาบลดต่ำลง ทำให้น้ำไหลลง กลับสู่ลำน้ำโขงอีกครั้ง ชาวกัมพูชาจะร่วมกันลอยทุ่นที่ประดับด้วยดวงไฟ ไปตาม แม่น้ำโขง ขณะที่การ
แข่งเรือ เป็นการรำลึก ถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 ช่วงศตวรรษที่ 12 ในยุคเมืองพระนคร อาณาจักรเขมรที่กำลังรุ่งเรืองมีชัย เหนืออาณาจักรจาม ในการสู้รบ ทางเรือ



เทศกาลชินูล็อก
(ประเทศฟิลิปปินส์)


ชินูล็อกเป็นเทศกาลประจำปีที่จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่สามของเดือนมกราคมที่เมืองเซบู และอีกหลายเมืองที่อยู่ทางใต้ของฟิลิปปินส์ โดยเป็นเทศกาลที่เป็นการฉลองเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) รวมทั้งเป็นการฉลองที่ได้รับการยอมรับจากศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก โดยเมนหลักของงานคือขบวนพาเหรดบนท้องถนนที่ผู้เข้าร่วมงานต้องใส่ชุดสีสดใสเต้นไปตามจังหวะของกลองแตรและฆ้องพื้นเมือง

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศฟิลิปปินส์    
      
วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นวัฒนธรรมผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจาก สเปน จีน และอเมริกัน ฟิลิปปินส์มีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่   

      อาติหาน (Ati - Atihan)จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ เอตาส (Aetas)” ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะ แห่งหนึ่งใน ฟิลิปปินส์ และรำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบ  เทศกาลอาติชนเผ่า เอตาส แล้วออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมือง
คาลิบู (Kalibu)     

 เทศกาลซินูล็อก (Sinulog)  งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือน มกราคมทุกปี
 เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino)
โดยจะจัดแสดงดนตรีและ มีขบวนพาเหรดแฟนซี ทั่วเมือง เซบู (Cebu)  

 เทศกาลดินาญัง (Dinayang) งานนี้จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) เช่นเดียวกับเทศกาลซินูล็อก แต่จะ จัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคม ที่เมือง อิโลอิโย (Iloilo)


     ประเพณีปอยส่างลอง
(ประเทศพม่า)


ปอยส่างลองคือพิธีฉลองเป็นเวลา 3 วันของการบรรพชาสามเณรในศาสนาพุทธ ซึ่งโดยปกติก็จะจัดให้มีขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม หรือไม่ก็ต้นเดือนเมษายนของทุก ๆ ปี ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดของประเทศไทย
พิธีนี้เป็นวัฒนธรรมประเพณีของชาวฉานหรือไทใหญ่ (ชนกลุ่มน้อยชาวไทย ผู้ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือของพม่าและตั้งถิ่นฐานอยู่ในแม่ฮ่องสอนเสียเป็นส่วนใหญ่) ชาวไทใหญ่มีความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาพุทธมาก และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีอันเก่าแก่ของพวกเขา เด็กหนุ่มอายุระหว่าง 7 ถึง 14 ปี จะบรรพชาเป็นสามเณรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาพุทธธรรมและเพื่อให้บิดามารดาได้บุญกุศลอีกด้วย แต่เป็นที่เชื่อกันว่าบางทีประเพณีนี้ก็จัดให้มีขึ้นเพื่อตามรอยเท้าเจ้าชายราหุล ผู้ซึ่งเป็นสามเณรองค์แรกในพุทธศาสนา และเป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ (พระพุทธเจ้า) เจ้าชายราหุลทรงสละโลกีย์วิสัย เพื่อดำเนินรอยตามคำสั่งสอนของพระบิดา
ประเพณีนี้หลากหลายไปด้วยสีสันและการแสดงมากมาย ทำให้เป็นเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด ที่ดึงดูดให้ประชาชนทั่วทั้งจังหวัดมาเข้าร่วมพิธี แต่ก่อนที่จะถึงวันประเพณี เด็กชายจะต้องปลงผมและอาบน้ำ แล้วจึงเจิมด้วยน้ำหอม แต่งกายด้วยเครื่องประดับเพชรพลอยเต็มยศ แต่งหน้าแต่งตาสวยงาน ซึ่งเราเรียกว่า “ลูกแก้ว”
แต่เช้าตรู่ในวันแรกของประเพณีนี้ การเฉลิมฉลองจะเริ่มด้วยขบวนแห่ไปรอบ ๆ เมือง ซึ่งในขบวนแห่นี้ก็จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย พิณ ซอ กลอง และฉิ่งฉาบ ในขบวนแห่ลูกแก้ว แต่ละคนจะมีผู้ติดตาม 3 คน กล่าวคือ คนหนึ่งแบกลูกแก้ว อีกคนหนึ่งกางร่มที่มียอดสูงประดับทองกันแดดให้ และคนที่สามคอยปกป้องเพชรพลอยของมีค่าต่าง ๆ ลูกแก้วเหล่านี้จะถูกนำไปเยี่ยมญาติ ๆ และเพื่อน ๆ และแล้วก็ร่วมรับประทานอาหารรวมกัน หลังจากรับประทานอาหารแล้ว ญาติ ๆ และผู้สูงอายุก็จะใช้ด้ายสีขาวผูกข้อมือให้ลูกแก้ว เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายต่าง ๆ และแล้วพิธีวันแรกก็เป็นอันจบลง
ในวันที่สองขบวนแห่เดียวกันนี้ก็จะเริ่มทำกันอีก แต่คราวนี้ในขบวนแห่จะประกอบด้วยเครื่องสักการะ เพื่อถวายพระพุทธ เครื่องจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์ และมีม้าอันเป็นสัญลักษณ์แห่งพาหนะของเจ้าพ่อหลักเมือง ในตอนเย็น หลังจากรับประทานอาหารแล้ว ก็จะมีพิธีทำขวัญและการสวดคำขวัญ เพื่อเตรียมตัวให้ลูกแก้ว ผู้ซึ่งจะเข้ารับการบรรพชาในวันรุ่งขึ้น
วันสุดท้ายจะเริ่มด้วยขบวนแห่ลูกแก้วไปยังวัด พอถึงวัด ลูกแก้วก็จะกล่าวคำขออนุญาตเพื่อบรรพชาจากพระเถระ เมื่อท่านอนุญาต ลูกแก้วก็จะกล่าวคำปฏิญาณตน แล้วจึงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นผ้ากาสาวพัตร์สีเหลือง และเป็นสามเณรอย่างสมบูรณ์
ประเพณีปอยส่างลอง ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นจำนวนมาก และปัจจุบันนี้ก็เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศอีกด้วย

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของพม่า

          เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจีน อินเดีย และไทยมานาน จึงมีการผสานวัฒนธรรมเหล่านี้เข้ากับวัฒนธรรมของ ตนจนเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา จึงเกิดประเพณีสำคัญ เช่น
           ประเพณีปอยส่างลอง (Poy Sang Long) หรืองานบวชลูกแก้ว  เป็นงานบวชเณรที่สืบทอดกันมานาน และ ชาวเมียนมาร์ให้ความสำคัญมาก เพราะถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ของครอบครัว

           งานไหว้พุทธเจดีย์ประจำปี ซึ่งแต่ละที่มักนิยมจัดในเดือนหลังออกพรรษาถือเป็นงานเฉลิมฉลองที่สนุกสนาน และได้ทำบุญสร้างกุศลด้วย